วัดไทรงามธรรมธราราม ต.ดอนมะสังข์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
ศูนย์วิปัสสนากัมมัฏฐาน, ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ, สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสุพรรณบุรี แห่งที่ ๕
เชิญบวชเนกขัมมะ บวชพระ บวชชี อบรมปฏิบัติธรรม ได้ทุกวัน
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 035-522005, 035-451476
 
 
Homepage | Photos | Download | Map | Calendar | Sitemap | Contact | Spaces | SkyDrive English English
 
 
พระครูภาวนานุศาสก์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ ฯ
» ประวัติพระครูภาวนานุศาสก์
» เสียงอ่านประวัติพระครู ฯ
» เสียงพระครูเทศน์ ๑
» เสียงพระครูเทศน์ ๒
» รวมภาพละสังขาร
» รายนามพระลูกศิษย์ในพระคุณท่าน
» รวมภาพพระครู ฯ บน SkyDrive
การสร้างวัดไทรงาม
» ประวัติการสร้างวัดไทรงาม
» พระอุโบสถวัดไทรงาม
» ศาลาปฏิบัติธรรม (ธมฺมธโรนุสรณ์ ๘๐ ปี)
» กุฏิถ้ำ และป่าไทร ในบริเวณวัด
» ความรู้เรื่องต้นสาละ
รวมภาพวัดไทรงาม
» ภาพบริเวณวัด
» ภาพวัดและภาพกิจกรรมบน SkyDrive
» ภาพศพสต๊าฟวัดไทรงาม
» ภาพศพอสุภกัมมัฏฐาน
แนวทางการปฏิบัติธรรม
» การฝึกอานาปานสติ
» การฝึกอิริยาบถนั่ง
» การฝึกอิริยาบถยืน
» การฝึกอิริยาบถเดิน
» การฝึกอิริยาบถนอน
» การฝึกอิริยาบถย่อย
รวมสื่อธรรมะ
» หนังสือธรรมะ
» ซีดีธรรมะ
» Video ประวัติวัดไทรงาม
» Video ธรรมะทั่วไป
เกี่ยวกับวัดไทรงาม
» เจ้าอาวาสวัดไทรงามรูปปัจจุบัน
» กิจวัตรประจำวัน
» เส้นทางเดินบิณฑบาต
» โรงเรียนพระปริยัติธรรม
» งานประชุมธรรมวิสาขบูชารำลึกประจำปี
» งานทอดกฐิน ประจำปี
» กิจกรรมเนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี
» กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
การขอบวชเนกขัมมะ ไม่ปลงผม
» หลักฐานการขอบวชเนกขัมมะ
» คำขอบวชเนกขัมมะ
» ตารางงานบวชเนกขัมมะ ประจำปี
การขอบวชเป็นพระภิกษุ
» หลักฐานการขออุปสมบท
» ใบสมัคร ขออุปสมบท ปริ๊นได้
» คำขออุปสมบทแบบอุกาสะ ไว้ท่อง
การขอบวชชี
» หลักฐานการขอบวชชี
วิธีปฏิบัติ อานาปานสติ
วิธีกำหนดอานาปานสติเบื้องต้น คือ ให้นักปฏิบัติธรรมนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบ เมื่อนั่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งใจสูดลมหายใจเข้าให้เต็มท้อง เมื่อลมหายใจเข้าไปอยู่จนเต็มแล้วให้ตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก หรือใต้เพดานทั้งสองข้าง เมื่อตั้งสติเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ปล่อยลมหายใจในท้องออกมาทีละนิด ๆ ค่อย ๆ ปล่อยลมออกมาจนหมด

แล้วก็ให้สูดเข้าไปใหม่จนเต็มท้องอีกแล้วก็ค่อยๆปล่อยออกมาทีละนิด ๆ ทำอยู่เช่นนี้ประมาณ 3-4 นาที หรือ 5-10 นาที จากนั้นจิตก็จะสงบในทันใด หากยังไม่สงบก็ให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ ขณะเมื่อสูดลมหายใจเข้าก็ดีหายใจออกก็ดี ไม่ต้องบริกรรม หรือภาวนาใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ต้องดูว่านี่ลมหายใจเข้าหรือนี่ลมหายใจออก เพราะจะทำให้จิตไปติดลมหายใจเข้า-ออก จะเกิดเป็น 2 อารมณ์ การติดในลมหายใจเข้าออก จะทำให้ไม่เห็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเครื่องปิดกั้นอารมณ์วิปัสสนา


เมื่อกำหนดดูลมหายใจเข้า-ออก พอควรแล้วก็ให้หยุดหายใจอยู่นิดหนึ่ง แล้วก็เอาสติตั้งไว้ที่นาสิก คือ บริเวณปลายจมูกทั้งสองข้าง (ดูภาพประกอบ) เพื่อกำหนดดูการเกิดดับของฆานสัมผัส หรือฆานวิญญาณ การเจริญวิปัสสนานักปฏิบัติต้องแยกอารมณ์ของสมถะและวิปัสสนาให้ออก และต้องรู้ว่าจมูกของเรามีกี่ครอง ขณะเมื่อเราได้หยุดลมหายใจ แต่มิใช่กลั้นลมหายใจ แล้วต้องสติไว้ที่นาสิกใช้ญาณสอดส่องดูภายในของนาสิก
วางใจเป็นกลาง ๆ ไม่เพ่ง ไม่บังคับจิต

จะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับคือการเกิดดับของวิญญาณหรือขันธ์ 5 ที่นาสิกนั้น ความรู้สึกเกิดดับนี้มีลักษณะวิ๊บ ๆๆๆ ระยิบ…ระยับ… คล้ายพยับแดดในเวลาอากาศร้อนจัด ๆ หรือเหมือนเม็ดสโนว์ในจอโทรทัศน์เวลาภาพไม่ติด ซึ่งเป็นเม็ดเล็ก ๆ เกิดดับระยิบระยับ ๆๆ ขณะเมื่อนักปฏิบัติกำหนดเห็นการเกิดดับเช่นนี้ แล้วก็ให้ประคองจิตไว้เป็นกลาง ๆ ไม่ให้บังคับจิต และไม่ต้องอยากเห็น เมื่อขณะเห็นอยู่นั้นถ้านักปฏิบัติไปบังคับจิตเพื่ออยากเห็นก็จะไม่เห็นเลย ดังนั้นให้ดูไปตามธรรมชาติ ในการกำหนดความรู้สึกเกิดดับที่นาสิกบางท่านอาจจะไม่เข้าใจ ผู้ปฏิบัติแบบอื่น ๆ มาแล้วก็อาจพอทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการวางจิตให้ถูก ถ้าวางจิตไม่ถูกก็จะไม่เห็นสภาวะธรรม หลังจากกำหนดที่นาสิกได้แล้วก็ให้น้อมไปดูที่มโนสัมผัส ( ดูภาพประกอบ )

ที่ตั้งของมโนสัมผัสอยู่ตรงกลางระหว่างทางเข้าภายในปอดทั้งสองข้าง หรือบริเวณหัวใจเต้นทั้งซ้าย-ขวา ตามปกติหัวใจอยู่แถบซ้าย แต่วิถีจิตแบ่งเป็น 4 ครอง หรือ 4 ช่องทาง คือเข้าภายใน 2 และออกภายนอก 2 โดยแบ่งซีกอวัยวะของกายข้างละ 2 รวมเป็น 4 ซึ่งจมูกของเราแบ่งเป็น 4 ครองเช่นกันคือ ช่องลมหายใจเข้ามี 2 ข้าง (ซ้าย-ขวา) และช่องลมหายใจออกมี 2 (ซ้าย-ขวา) ช่องทางออกของวิญญาณซึ่งมีเส้นประสาทของจมูกที่มีอยู่ทั้งสองข้างเช่นกัน

การกำหนดวิปัสสนาต้องกำหนดที่นาสิกหรือที่เพดานจมูก เห็นการเกิดดับและความรู้สึกที่เป็นปรมัตถธรรมอยู่ภายในเท่านั้น การกำหนดที่มโนสัมผัส เมื่อนักปฏิบัติกำหนดที่นาสิกได้แล้ว ก็จะเห็นการเกิดดับที่มโนสัมผัสพร้อมกัน โดยจะเห็นการแบ่งการเกิดดับทีละข้าง คือ ที่นาสิกเกิดดับข้างซ้าย และที่มโนสัมผัสข้างซ้ายจะเกิดดับพร้อมกัน มีลักษณะเหมือนกัน ส่วนข้างขวาก็เช่นเดียวกัน การเจริญอานาปานสตินี้ ไม่เหมาะกับนักปฏิบัติเริ่มต้นฝึกหัดใหม่ ควรแก่ผู้ที่จิตตั้งมั่นดีแล้ว ฉะนั้นดังที่กล่าวมา คือการกำหนดที่นาสิก หากว่ายังทำไม่ได้ก็ให้มากำหนดการคู้แขนเข้า เหยียดแขนออก หรือยกมือขึ้น-ลง ซึ่งแสดงไว้ภาคปฏิบัติในอิริยาบถ 4 ต่อไป.
 
 
Powered by Phranarong Panyadharo & Teams. Webhosting by WebSmooth.net ขึ้นบนสุด